top of page
20 Century Trombone
Early Trombone

หลักฐานการมีอยู่ของทรอมโบนสามารถย้อนกลับไปได้ถึงช่วงศตวรรษที่ 15 และในช่วงนั้นเองลักษณะตัวเครื่องก็ยังมีลักษณะเหมือนมัยปัจจุบัน เช่น ยังเป็นวัสดุที่มาจากทองเหลือง มีท่อโค้งไปมา และที่ยังคงแสดงลักษณะเฉพาะของเครื่องนั้นเลยคือ การเปลี่ยนเสียงด้วยกับชักสไลด์ ซึ่งในสมัยนั้นเขาเรียกว่า Sackbut ถือได้ว่าเป็นเครื่องลมทองเหลืองเพียงชนิดเดียว ที่สามารถเล่นโน้ตได้ครบทุกเสียง โดยใช้เทคนิคไลด์ จึงเป็นเพลงที่นิยมในเพลงของศาสนา และมักจะเล่นร่วมกับเครื่อง Organ และวง Chorus เนื่องจากเครื่อง Sackbut มีลักษณะเสียงที่กลมกลืนกัน

พอข้าสู่ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มมีการนำเครื่อง sackbut นำมาเล่นกับแนวดนตรีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและไม่เกี่ยวคข้องกับศาสนามากขึ้น เช่นบทเพลง Requiem in D minor, K. 626 ของ Wolfgang Amadeus Mozart  หรือว่าบทเพลง Symphony No.5 ของ Ludwig van Bethoven โดยในยุคนี้เองลักษณะของเครื่องยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนมากมายมีเพียงแต่การปรับปรุงเรื่องขนาดของท่อและขนาดของ mouthpiece ให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น

Modern Trombone
หลังจากปี 1839 มีการนำระบบลูกสูบที่เป็นลักษณะแบบ Rotary ที่เรียกว่า F attachment เข้ามาใช้ในเครื่อง Trombone โดยบังคับโดยใช้ด้วยนิ้วหัวแม่มือ โดยเรียกทรอมโบนประเภทนี้ว่า Bb/F  Trombone โดยถูกพัฒนาขึ้นในประเทศเยอรมันนี 
และในช่วงนี้เองบทบาทของทรอมโบนก็ยังมีมกขึ้นเช่น เริ่มมีเพลงแสดงเดียวเป็นของตัวเอง เช่น Concertino for Trombone and Orchestra ของ Ferdinand David และจุดเด่นของเพลงนี้จะมีการเล่นโน้ตสูงต่ำสลับกันไปมา โน้ตเหล่านี้เป็นผลมาจากการพัฒนาของ F attachment บนเครื่องทรอมโบน และเครื่องทรอมโบนในปัจจุบันก็เริ่มมีลักษณะเหมือนเดิมตั้งแต่ยุคนี้
พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางของการแสดงดนตรีและการปฏิบัติของทรอมโบนตามที่อธิบายไว้ในบทต่อไปนี้ ด้วยการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีใหม่พร้อมกับนักแต่งเพลงและนักแสดงที่ผลักดันขีด จำกัด ของทรอมโบนความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มเสียงของทรอมโบน นักดนตรีทรอมโบน เช่น Paul Rutherford (1940-2007) ที่มีความสนใจในดนตรีแจ๊สและการแสดงดนตรีสดแบบอิสระ Vinko Globokar (1934) และ Stuart Dempster (1936) ซึ่งทั้งคู่มีความสนใจในการพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อสร้างเสียงที่แตกต่างกันทั้งหมด ช่วยขยายเสียงของทรอมโบน
SAckbut family_edited.jpg
bottom of page